กลยุทธ์การลงทุน GBPUSD ประจำวันที่ 25 ก.ค. 2568

25 ก.ค. 2025

Day โครงสร้างรายวันเป็น Sideway กรอบใหญ่ระหว่าง 1.37918 -1.33678 วานนี้ราคา GBP ปรับตัวร่วงลงบริเวณแนวต้านที่ให้ไว้(ตามคาด) ปัจจัยสำคัญทั้งมาจาการแข็งค่าของ USD (DXY) ส่งผลให้ GPB ในฐานะสินทรัพย์จับคู่ USD อ่อนค่าลง ในขณะที่ประกาศ PMI อังกฤษออกมาแย่เกินคาด ส่งผลให้ราคาปิดแท่งรายวัน Bearish Marubozo

ประกาศตัวเลข PMI อังกฤษ สะท้อนภาคเศรษฐกิจยังไม่ขยาย … ปัจจัยกดดัน GBP

  • 24 ก.ค. ประกาศตัวเลข PMI ฝังผลิต 48.2 ซึ่งยังคงน้อยกว่า 50 สะท้อนภาคเศรษฐกิจยังไม่ขายตัวเต็มที่ ในขณะที่ PMI ฝั่งบริการ 51.2 ซึ่งน้อยกว่าเดือนี่แล้วและคาดการณ์ 52.8 สะท้อนภาคเศรษฐกิจชะลอตัว

ผลการเจรจาการค้า สหรัฐ- สหภาพยุโรป (EU)  คาดออกมาดี … ปัจจัยบวกต่อ USD กดดัน GBP

  • 23 ก.ค. Financial Timesรายงานอ้างอิงจากแหล่งข่าวสหรัฐ ระบุว่า สหรัฐ และ สหภาพยุโรป (EU) ใกล้บรรลุข้อตกลงทางการค้า ก่อนเส้นตาย 1 ส.ค. สินค้านำเข้าจาก EU เรียกเก็บในอัตราภาษี 15% (จากเดิม 30%) แต่จะยกเว้นภาษีสินค้าบางประเภท เช่น เครื่องบิน สุรา และเครื่องมือแพทย์ ซึ่งทำให้ยุโรปมองว่าภาระภาษ๊รวมไม่ได้เพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกรถยนต์ จาก EU ไปสหรัฐ ลดลง จาก 27.5% เหลือ 15%
    ทรัมป์เอง แสดงท่าทีว่าการเจรจาใกล้บรรลุข้อตกลงก่อนเส้นตาย 1 ส.ค.
  • ในขณะที่ EU ยังคงต้องจับตาท่าทีของสหรัฐในระยะยาว แต่ได้เตรียมเครื่องมือตอบโต้แบบครบวงจร (“anti‑coercion instrument”) ACI  ซึ่งรวมถึงการคว่ำบาตรบริการสหรัฐฯ, ดึงสินค้าออกจากโปรเจกต์จัดซื้อภาครัฐ(ห้ามสหรัฐเข้าประมูล)  และจำกัดการลงทุนจากสหรัฐ  และกีดกันตลาดบริการดิจิทัจจากสหรัฐ หากสหรัฐไม่ยอมถอย
  • สหภาพยุโรป (EU)  – จีน   การประชุม สุดยอดผู้นำ EU- จีนในปักกิ่ง 24 ก.ค..ต่างฝายต่างเรียกร้องความสมดุลย์การค้าระหว่างกัน
    – EU ขาดดุลการค้าให้กับจีนในปี 2024 ถึง 305 พันล้านยูโร เรียกร้องให้จีนแก้ไขการเข้าถึงตลาด (ปัจจุบันสินค้าจีนล้นตลาดยุโรป)  และลดภาระเกินกำลังโดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า EV (ราคารถไฟฟ้าในยุโรป ถูกกว่าเกินจริง) และ Rare Earth
    – จีนขอให้ EU เปิดการค้าเสรีแบบเช่นเดิม และจะส่งเสริมการลงทุนจีนในยุโรป สร้างระบบ Supply mechanism แก้ปัญหา ส่งเร่งอนุมัติส่งแร่ ให้ EU

นัดเจรจาการค้า สหรัฐ- จีน (EU)  ในสัปดาห์หน้า … ปัจจัยบวกต่อ USD กดดัน GBP

  • การเจรจากครั้งใหม่เริมต้น27-30 ก.ค. ที่สวีเดน เพื่อยืดเส้นตายการเจรจากวันที่ 12 ส.ค. / Overcapacity / Oil Sanctions / Transition to Consumer –  focused economy
  • จากข้อตกลง ชั่วคราว ในลอนดอน กลางเดือน พ.ค. เห็นชอบระงับภาษีนำเข้าระหว่างกัน 90 วัน สิ้นสุด 12 ส.ค. (ต่างฝ่ายต่างต้องยกเลิก ข้อกีดกัน ภารนำเข้าแร่ rare earth ไปสหรัฐ และ การนำเข้าชิป และ IT ไปจีน) 

ติดตามผลการเจรจาการค้า สหรัฐ – อินเดีย … ปัจจัยบวก USD กดดัน GBP หากผลการเจรจาออกมาดี

  • การเจรจาการค้า รอบที่ 5 เสร็จสิ้นแล้ว รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์อินเดีย มั่นในสามารถบรรลุผลการเจรจาได้ก่อ่น 1 ส.ค. คาดหวังผลการเจรจาดีกว่า อินโดนิเซียและ ฟิลิปปินส์  19 % (2 เม.ย. ภาษีตอบโต้เฉพาะประเทศ 27%)
    – อินเดีย ยังปฎิเสธ การเปิดการค้าเสรี สินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์นม
    – ในปี 2019 อินเดีย เคยขึ้นภาษีนำเข้สินค้าสหรัฐ20-70% (อัลลมอนด์ แอบเปิล เหล็ก) เพื่อตอบโต้สินค้าที่สหรัฐเรียกเก็บภาษี25% เหล็กและอะลูมิเนียม ในตอนนั้นซึ่งไม่ผ่าน WTO

ทรัมป์ กล่าวว่า ตนเองไม่ได้ตั้งใจที่จะไล่พาวเวลล์ออก… ปัจจัยบวกต่อ USD กดดัน GBP

  • ทรัมป์ เยือน อาคารสำนักงานใหญ๋ ของ FED ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง โดยทรัมป์ วิจารณ์ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคาร และคงกดดันให้ FED ปรับลดดอกเบี้ย  และกล่าว “ไม่ได้ตั้งใจจะไล่พาวเวลล์ออก”
  • ก่อนหน้านี้ มีกระบวนการจากสมาชิกพรรค รีพับพลิกัลของทรัมป์ ส่งเรื่องถึงกระทรวจยุติธรรมสหรัฐ (DOJ) ให้สอบสวนพาวเวลล์ ประธานเฟด ในข้อหา “ให้การเท็จ” กับวุฒิสภา ในกรณีขอเบิกงบเกินจำเป็น เพื่อใช้ในการปรับปรุงอาคาร สำนักงานใหญ่ของ FED เพื่อให้มีการสอบสวน เจอโรมพาวเวล์ในเชิงลึก ว่าได้กระทำการผิด หรือไม่ ซึ่งหากผิดจริง จะส่งผลให้สามารถดำเนินการปลด พาวเวล์ได้ก่อนกำหนด 

H4/H1โครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น H4 ราคาปรับตัวร่วงลงบริเวณแนวต้าน Channel Uptrend ซึ่งตรงกับ SRF ซึ่งถือเป็นแนวต้านสำคัญ ราคาปรับตัวร่วงลง(ตามคาด) GBP ยังคงเทขายในระดับลึก หากราคาปิดต่ำกว่า 1.33702 จะถือเป็นจุดสิ้นสุดโครงสร้างเทรดน์ขาขึ้นระยะสั้น

คำแนะนำ

  • เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ)บริเวณกรอบ 1.34621-1.34825 / SL 1.34500 เพื่อทำกำไรระยะสั้นที่ 1.3470/1.34939/13.34500/1.35390/1.35100
  • เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย)บริเวณกรอบ 1.35105-1.35232 / SL 1.35500 เพื่อทำกำไรระยะ1.35039/1.34970/1.34939/1.34896

แนวรับ 1.34611/1.34008/1.33702

แนวต้าน 1.35242/1.35901/1.36185

ปฎิทินเศรษฐกิจ 25 ก.ค.2568

บทวิเคราะห์ข่าว

  • ยอดค้าปลีก อังกฤษ ออกมา 0.9% แม้ว่าจะน้อยกว่าคาดแต่ตัวเลขยังสูงกว่าเดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นการกลับมาใช้จ่ายกับภาคครัวเรือนอังกฤษ แต่จะส่งผลต่อ GBP จากปัจจัยข่าวนี้เพียงเล็กน้อย
  • ติดตามผลการเจรจาการค้า ในสัปดาห์ก่อนสุดท้าย หากมีการประกาศออกมาในแนวโน้มที่ดี จะส่งผลกดดัน GPB ด้วยเช่นกัน (ไม่นับรวม สหภาพยุโรป)

โดย Trin Anuwattanawong