กลยุทธ์การลงทุน GBPUSD ประจำวันที่ 10 ก.ค. 2568

11 ก.ค. 2025

Day โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาขึ้น วานนี้ GBP ปรับตัวขึ้นมาทดสอบ แนวต้านที่ให้ไว้ กรอบ 1.36249 -1.36423 ก่อนปรับตัวร่วงลง (ตามคาด) ก่อนจะมีซื้อกลับมาหลังจาก ลงไปทดสอบบริเวณ Order Block ที่กรอบ 1.35319-1.35631 ปิดแท่งรายวัน เป็น Bearish Doji ต่อเนื่องกัน 3 วัน ทั้งนี้ปัยจัยสำคัญมากจากการแข็งค่าของ USD (DXY) และการผันผวนของ USD จากความกังวล เรื่องสงครามการค้า ซึง่ USD ในบทบาท Save Haven ราคา GBP ยังคงไหลลงอย่างต่อเนื่องในเช้านี้ ทั้งจากปัจจัยการแข็งค่าของ USD(DXY)

ทรัมป์ประกาศส่งจดหมายเรียกเก็บภาษี เพิ่มเต็ม 7 ประเทศ + 2 ประเทศ(ล่าสุด)… สงครามการค้าเริ่มกลับมาร้อนแรง ปัจจัยบวกต่อ USD(Save Haven) กดดันปัจจัย GBP

  • 11 ก.ค. ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า แคนาดา 35% พร้อมขู่ อย่าคิดมีมาตรากรอบโต้ มิเช่นนั้น จะถูกบวกภาษีเพิ่ม ทั้งนี้ทรัมป์ยังอ้างสิทธิ ถึงคามล้มเหลวของแคนนาดาในการควบคุม เฟลทานิลเข้าสหรัฐ 
  • 10 ก.ค. ทรัมป์ ลงนามภาษีนำเข้าทองแดงทั้งหมด 50% ผลบังคับใช้ 1 ส.ค.  โดยอ้างถึงความมั่นคงของชาติ ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และการป้องกันประเทศ เพือกระตุ้นการผลิตทองแดงในประเทศ
  • 10 ก.ค. ทรัมป์ เตรียมเรียกเก็บภาษี “ยารักษาโรค” อีก 200% ภายใน 1-1.5 ปีข้างหน้า
  • 10 ก.ค. ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ จาก บราซิล 50%ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบโต้ ประธานาธิปดีบราซิล ทีกล่าวหาทรัมป์ ว่า “ไม่ต้องการเป็นจักรวรรดิ์ แบบทรัมป์” ในงานประชุม BRICS ต้นสัปดาห์ที่ผานมา
    ทรัมป์อ้างความชอบธรรมในการขึ้นภาษี บราซิล จากการที่ประธานาธิปดีบราซิล สั่งลบโพสที่เป็นข่าวปลอมออกจากโซเชียลมีเดีย ในสมัยการเลือกตั้งปี 2023 โดยทรัมป์ระบุว่า “ละเมิดการแทรกแซงเสรีภาพในการพูด”
    – บราซิล พิจารณามาตราการตอบโต้กลับ ภาษีนำเข้าสหรัฐ 50% และจะยืนเรื่องความไม่เป็นธรรมนี่ต่อ WTO
  • 10  ก.ค. ทรัมป์ส่งจดหมาย ภาษีแบบเจาะจง 7  ประเทศ (ไม่มีรายชื่อใน Reciprocal Tariffs มาก่อน แต่เดิมมีการเรียกเก็บเฉพาะภาษีพื้นฐาน 10%) ประกอบด้วย
    – ภาษีนำเข้าสหรัฐ 30% กับประเทศ อัลจีเรีย/อิรัก / ลิเบีย /ศรีลังกา
    – ภาษีนำเข้าสหรัฐ 25% กับประเทศ บูรไน / บอลโดวา
    – ภาษีนำเข้าสหรัฐ 20% กับประเทศ ฟิลิปปินส์
  • 8 ก.ค. ทรัมป์ส่งจดหมาย ภาษีแบบเจาะจง 14 ประเทศ (มีรายชื่อ จาก 60 ประเทศทั้งหมดใน Reciprocal Tariffs)
    – ภาษีนำเข้าสหรัฐ 25% กับประเทศ ญี่ปุ่น / เกาหลีใต้/ มาเลเซีย/ คาซักสถาน / ตูนิเซีย
    – ภาษีนำเข้าสหรัฐ 30% กับประเทศ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา/แอฟริกาใต้
    – ภาษีนำเข้าสหรัฐ 32% กับประเทศ อินโดนิเซีย
    – ภาษีนำเข้าสหรัฐ 35% กับประเทศ บังคลาเทศ/เซอร์เบีย
    – ภาษีนำเข้าสหรัฐ 36% กับประเทศ ไทย /กัมพูชา
    – ภาษีนำเข้าสหรัฐ 40% กับประเทศ พม่า / ลาว

จีนประกาศกร้าว “ประเทศทีทำข้อตกลงกับสหรัฐ ที่ทำร้ายผลประโยชน์ประเทศจีน จะถูกตอบโต้ทันที” …สัญญาณสงครามทางการค้า ปัจจัยกดดัน GBP

  • ล่าสุดจีนได้ประกาศหยุดการชะลอลงทุน โครงสร้างพื้นฐานในเวียดนาม (รถไฟ มูลค่า 8.3 พันล้านดอลลาร์) และจำกัดการส่งวัตถุดิบหรือเทคโนโลยีนจากจีนไปเวียดนาม และการนำเข้าสินค้าเกษตรจากเวียดนาม โดยหันไปสั่งจากกัมพูชาแทน ทั้งนี้เป็นการตอบโต้เวียดนาม หลังจากการเจรจาการค้าระหว่าง สหรัฐ-เวียดนาม บรรลุผล แต่ สำหรับสินค้า Transshipment (สินค้าจีน(หรือจากประเทศอืนๆ)ส่งออกทางเวียดนาม) คิดภาษีนำเข้าสหรัฐ 40%

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม … ปัจจัยบวกต่อ USD(DXY) กดดัน GBP

  • เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด คาดว่าเงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต เนื่องจากผู้บริโภคต้องจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับการซื้อสินค้า เนื่องจากแผนการเก็บภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐ จึงตัดสินใจคงดอกเบี้ย เพื่อรอดูตัวเลขเศรษฐกิจ
  • ทรัมป์ โจมตี เจอโรม พาวเวลล์ อย่างหนัก”Stupid – Too Late”  และเรียกร้องให้ลาออกทันที หากเพิกเฉยต่อการปฎิบัติ ในขณะที่นักลงทุนคาด Fed น่าจะปรับลดดอกเบี้ย 2 คร้งในปีนี้ โดยเริ่มจาก การประชุม อีก 2 ครั้งหน้า 17 ก.ย. 

H4 /H1 : ่ราคายังคงเคลือนที่ในโครงสร้างขาลง GBP เครื่องที่ออกข้างในลักษณะสามเหลี่ยม Triangle (ตามคาด) ราคาปรับตัวร่วงลงเริ่มปรากฎสัญญาณการยอตัว Bullish Divergence

คำแนะนำ

  • เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย) บริเวณกรอบ 1.35633-1.35758 / SL 1.36000 เพื่อทำกำไรระยะสั้นที่ 1.35623/1.35555/1.35496/1.35327/1.35228/1.35171/1.35031

แนวรับ 1.35307/1.34728/1.33687

แนวต้าน 1.35841/1.36226/1.36422

ปฎิทินเศรษฐกิจ ประจำวันที่ 11 ก.ค.2568

บทวิเคราะห์ข่าว

  • GBP อังกฤษ ประกาศ -0.1% ซึ่งดีกว่าเดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงไม่ดีตามคาด สะท้อนการภาคเศรษฐกิจยังขยายตัวไม่เต็มที่ ประกอบการแข็งค่าของ USD ในฐานะ Save Haven จากภาวะความกังวลเรืองเศรษฐกิจ กดดันดัน GBP อยู่

โดย Trin Anuwattanawong