กลยุทธ์การลงทุน Crude Oil (WTI) ประจำวันที่ 11 ก.ค. 2568
11 ก.ค. 2025
Day โครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น วานนี้ราคาน้ำมันปรับร่วงลง ทันทีที่เข้าไปทดสอบบริเวณกรอบแนวต้านที่ให้ไว้ 67.654-68.053 ราคาร่วงลง (ตามคาด)ราคาปิดแท่งรายวัน Bearish Marubozo นักลงทุนประเมินผลกระทบจากมาตราการภาษีของทรัมป์ ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์ เท็กซัส (WTI) งวดส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดตลาดที่ 68.64 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.21% จากวันก่อนหน้า
ประกาศตัวเลข PPI ในจีน – 3.6 % สะท้อนสภาวะเงินฝืดในจีน …. กดดนราคาน้ำมัน
- จีนเริ่มส่งสัญญาณว่าต้องการแก้ไขภาวะเงินฝืดและสงครามราคาที่รุนแรง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจจีน โดย สี จิ้นผิง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่น ๆ ได้ประเมินสถานการณ์การแข่งขันที่ดุเดือดซึ่งฉุดรั้งราคาและผลกำไรในอุตสาหกรรม ตั้งแต่เหล็ก, แผงโซลาร์เซลล์ ไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดภาวะเงินฝืดในฝั่งราคาผู้ผลิตมานานเกือบสามปี รวมถึงแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากภาษีและข้อพิพาททางการค้ากับสหรัฐ
- บริษัท Nvidia (จากสหรัฐ) นัดพบเจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ ในสัปดาห์หน้า เพื่อแสดงความตั้งใจในการทำตลาดในจีน แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐจะกีดกันตลอดมา
กลุ่ม OPEC+ ตกลง เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันรวม… กดดันราคาน้ำม้ัน
- กลุ่ม OPEC+ ตกลง เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันรวม 548,000 บาร์เรลต่อวัน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2025 ซึ่งเกินกว่าที่ตลาดคาดไว้ (411,000 บาร์เรลต่อวัน)
- ให้เหตุผลการเพิ่มกำลังการผลิต
– เรียกคืนส่วนแบ่งตลาด ณ ปัจจุบัน ปริมาณน้ำมันในกลุ่ม WTI มีอยู่ในตลาดเป็นปริมาณมาก จึงต้องการรักษาสมดุลย์ปริมาณน้ำมันทั้งหมดในตลาดโลก
– OPEC+ คาดว่าจีน ยังคงมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ แม้ ณ ปัจจุบันความต้องการของจีนจะชะลอตัว
– ปริมาณสต์อกสำรอง ในกลุ่ม OPEC+ลดลง
– ต้องการให้สมาชิกที่ผลิตต่ำกว่าโควต้า (แอลจีเรีย/ไนจีเรีย/อังโกลา)เร่งการผลิต ให้สมดุลกับประเทศที่ผิลตเกินโควต้า(รัสเซีย/อิรัก/อิหร่าน) เพื่อเป็นการ “Reset” โควต้าใหม่ และแบ่ง Market share ให้เป็นธรรมมากขึ้น
ทรัมป์ประกาศส่งจดหมายเรียกเก็บภาษี เพิ่มเต็ม 7 ประเทศ + 2 ประเทศ(ล่าสุด)… สงครามการค้าเริ่มกลับมาร้อนแรง มีผลต่อการส่งออก กดดันราคาน้้ำมัน
- 11 ก.ค. ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า แคนาดา 35% พร้อมขู่ อย่าคิดมีมาตรากรอบโต้ มิเช่นนั้น จะถูกบวกภาษีเพิ่ม ทั้งนี้ทรัมป์ยังอ้างสิทธิ ถึงคามล้มเหลวของแคนนาดาในการควบคุม เฟลทานิลเข้าสหรัฐ
- 10 ก.ค. ทรัมป์ ลงนามภาษีนำเข้าทองแดงทั้งหมด 50% ผลบังคับใช้ 1 ส.ค. โดยอ้างถึงความมั่นคงของชาติ ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และการป้องกันประเทศ เพือกระตุ้นการผลิตทองแดงในประเทศ
- 10 ก.ค. ทรัมป์ เตรียมเรียกเก็บภาษี “ยารักษาโรค” อีก 200% ภายใน 1-1.5 ปีข้างหน้า
- 10 ก.ค. ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ จาก บราซิล 50%ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบโต้ ประธานาธิปดีบราซิล ทีกล่าวหาทรัมป์ ว่า “ไม่ต้องการเป็นจักรวรรดิ์ แบบทรัมป์” ในงานประชุม BRICS ต้นสัปดาห์ที่ผานมา
ทรัมป์อ้างความชอบธรรมในการขึ้นภาษี บราซิล จากการที่ประธานาธิปดีบราซิล สั่งลบโพสที่เป็นข่าวปลอมออกจากโซเชียลมีเดีย ในสมัยการเลือกตั้งปี 2023 โดยทรัมป์ระบุว่า “ละเมิดการแทรกแซงเสรีภาพในการพูด”
– บราซิล พิจารณามาตราการตอบโต้กลับ ภาษีนำเข้าสหรัฐ 50% และจะยืนเรื่องความไม่เป็นธรรมนี่ต่อ WTO - 10 ก.ค. ทรัมป์ส่งจดหมาย ภาษีแบบเจาะจง 7 ประเทศ (ไม่มีรายชื่อใน Reciprocal Tariffs มาก่อน แต่เดิมมีการเรียกเก็บเฉพาะภาษีพื้นฐาน 10%) ประกอบด้วย
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 30% กับประเทศ อัลจีเรีย/อิรัก / ลิเบีย /ศรีลังกา
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 25% กับประเทศ บูรไน / บอลโดวา
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 20% กับประเทศ ฟิลิปปินส์ - 8 ก.ค. ทรัมป์ส่งจดหมาย ภาษีแบบเจาะจง 14 ประเทศ (มีรายชื่อ จาก 60 ประเทศทั้งหมดใน Reciprocal Tariffs)
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 25% กับประเทศ ญี่ปุ่น / เกาหลีใต้/ มาเลเซีย/ คาซักสถาน / ตูนิเซีย
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 30% กับประเทศ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา/แอฟริกาใต้
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 32% กับประเทศ อินโดนิเซีย
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 35% กับประเทศ บังคลาเทศ/เซอร์เบีย
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 36% กับประเทศ ไทย /กัมพูชา
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 40% กับประเทศ พม่า / ลาว
จีนประกาศกร้าว “ประเทศทีทำข้อตกลงกับสหรัฐ ที่ทำร้ายผลประโยชน์ประเทศจีน จะถูกตอบโต้ทันที” …สัญญาณสงครามทางการค้า ปัจจัยกดดันราคาน้ำมัน
- ล่าสุดจีนได้ประกาศหยุดการชะลอลงทุน โครงสร้างพื้นฐานในเวียดนาม (รถไฟ มูลค่า 8.3 พันล้านดอลลาร์) และจำกัดการส่งวัตถุดิบหรือเทคโนโลยีนจากจีนไปเวียดนาม และการนำเข้าสินค้าเกษตรจากเวียดนาม โดยหันไปสั่งจากกัมพูชาแทน ทั้งนี้เป็นการตอบโต้เวียดนาม หลังจากการเจรจาการค้าระหว่าง สหรัฐ-เวียดนาม บรรลุผล แต่ สำหรับสินค้า Transshipment (สินค้าจีน(หรือจากประเทศอืนๆ)ส่งออกทางเวียดนาม) คิดภาษีนำเข้าสหรัฐ 40%
การโจมตีเรือสินค้า ในทะเลแดง โดยกลุ่ม กบฎ ฮูติ (เยเมน) ยังคงอยู่ในภาวะเฝ้าระวัง .… ปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมัน
- เริ่มต้น วันที่ 6 ก.ค. เรือบรรทุก Magic Seas ถูกกลุ่มฮูติ โจมตี จนเรือจมในทะเลแดง (ลูกเรือทั้งหมดรอดชีวิต)
- 7-8 ก.ค. เรือบรรทุก Eternity C ถูกกลุ่มฮูติ โจมตี ลูกเรือเสียชีวิต 4 คน สูญหาย 14 คน
- สถานะการณ์ปัจจุบัน เป็นการยกระดับความตึงเครียดในทะเลแดง ส่งผลทำให้เส้นทางเรือ ระหว่าง เอเซีย-ยุโรป ต้องเลี่ยงเส้นทาง ทะเลแดง – คลองสุเอช ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย + เพิ่มค่าประกันเรือ จาก 0.4% ของมูลค่าเรือ เพิ่มเป็น 1.0% ของมูลค่าเรือ
H4/H1 ราคาน้ำมันวิ่งย่อตัวอยู่ใน Channel Uptrend ราคายังคงไม่สามารถผ่านขึ้นไปบริเวณแนวต้านที่ให้ไว้ได้ ราคาย่อตัวลงมาอยู่บริเวณแนวรับ 65.561 ในขณะที่เริ่มปรากฎสัญญาณ Bullish Divergence ใน TF H1 อาจส่งสัญญาณ การ Rebound ขึ้นไปก่อนปรับย่อตัวลง
คำแนะนำ
- เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย)ที่กรอบ 66.371-66.907/ SL 67.300 เพื่อทำกำไร 66.266/66.186/66.02/66.957/65.863/65.824
แนวรับ 65.561/64.586/63.425
แนวต้าน 67.801/68.702/69.228

ปฎิทินเศรษฐกิจ ประจำวัน 11 ก.ค.2568

บทวิเคราะห์
- IEA ได้เผยแพร่รายงาน Oil Market Report ประจำเดือนกรกฎาคม
– Demand โตต่อเนื่องแต่ยังมีความไม่แน่นอนจากจีนและสหรัฐฯ
– Supply การผลิตรวมโดยเฉพาะจาก OPEC+ และนอน-OPEC สูงขึ้น
– Inventory เกิดการสะสมสต็อกโลกที่มีแนวโน้มเพิ่ม
– Refining กำไรจากการกลั่นสูงแต่เริ่มลดกดดันราคาน้ำมัน
– Price Action าคายังผันผวนใต้แรงกดดันจากอุปทานและปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์
โดย Trin Anuwattanawong