กลยุทธ์การลงทุน Crude Oil (WTI) ประจำวันที่ 24 ก.ค. 2568
24 ก.ค. 2025
Day โครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น ราคาน้ำมันเคลื่อนตัวออกข้าง บริเวณ กรอบ 65.500-69.500 ติดต่อกันเป็นอาทิตย์ที่ 4 วานนี้ราคาน้ำมันปรับตัวลงเล็กน้อย (ติดต่่อกัน 4 วัน) เช้าค่ำราคาปรับตัวร่วงลงมา (ตามคาด) ก่อนจะดีดขึ้นในช่วงดึก หลังจากนักลงทุนประเมินความคืบหน้าการเจรจากการค้าระหว่าง สหรัฐ- สหภาพยุโรป ที่ใกล้บรรลุข้อตกลงทางการค้าที่ 15% (จากเดิม 30%) ปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมันและ USD ส่งผลให้ดีดขึ้นมาจากระดับแนวรับใหม่บริเวณกรอบ 64.791-64.572 ราคายังคงทรงตัวขึ้นเหนือระดับดังกล่าวจนถึงช่วงตลาดเปิดเช้าวันนี้ ปิดแท่งรายวันวานนี้ Bearish with Shadows
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์ เท็กซัส (WTI) งวดส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดตลาดที่ 65.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.09% จากวันก่อนหน้า
สหรัฐ – สหภาพยุโรป ใกล้บรรลุข้อตกลงทางการค้า .… ปัจจัยบวกต่อ USD และ น้ำมัน
- 23 ก.ค. Financial Timesรายงานอ้างอิงจากแหล่งข่าวสหรัฐ ระบุว่า สหรัฐ และ สหภาพยุโรป (EU) ใกล้บรรลุข้อตกลงทางการค้า ก่อนเส้นตาย 1 ส.ค. สินค้านำเข้าจาก EU เรียกเก็บในอัตราภาษี 15% (จากเดิม 30%) แต่จะยกเว้นภาษีสินค้าบางประเภท เช่น เครื่องบิน สุรา และเครื่องมือแพทย์ ซึ่งทำให้ยุโรปมองว่าภาระภาษ๊รวมไม่ได้เพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกรถยนต์ จาก EU ไปสหรัฐ ลดลง จาก 27.5% เหลือ 15%
- ส่งผลให้ดัชนีทั้ง 3 ของสหรัฐ ปิดบวก (กระตุ้นแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยง) S&P 500 เพิ่มขึ้น 0.78% / Dow Jones เพิ่มขึ้น 1.1% / Nasdaq เพิ่มขึ้น 0.6% ขณะที่ดัชนี CBOE Volatility (VIX) หรือดัชนีความกลัว ปรับตัวลดลง 6.8% แตะระดับต่ำสุดกว่า 5 เดือน ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงเทขายสินทรัพย์ปลอดภัย
AIP และ EIA รายงาน ปริมาณนำ้มันดิบคงคลัง ลดดลง … ่ปัจจัยบวกต่อน้ำมัน
- US EIA Weekly Report รายงาน
– ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังลดลง 3.2 บาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านปริมาณความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น
– ปริมาณ เบนซิน ลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล สะท้อนความต้องการน้ำมันในระดับสูง
– ปริมาณ ดีเซล เพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล สะท้อนภาคการผลิตและขนส่ง ยังไม่ขยายตัวเต็มที่
– ปริมาณการกลัน เพิ่มขึ้จากสัปดาห์่ก่อน 87,000 บาร์เรล/วัน - จากข้อมูล AIP และ EIA ที่สอดคล้องกัน สะท้อนความต้องการน้ำมัน Demand แข็งแรง / ในขณะที่ปริมาณการใ้ช้ Distillate (นำมันเบนซินมาก สะท้อนความต้องการภายในประเทศยังแข็งแรง น้ำมันดีเซลน้อย สะท้อนภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐยังคงขยายตัวอย่างไม่เต็มที่)
ECB คาดคงดอกเบี้ย … ปัจจัยบวกต่อ USD กดดันราคาน้ำมัน (ในฐานะสินทรัพย์จับคู่)
- ECB คาดคงอัตราดอกเบี้ยในการประุชมวันพฤหัสนี้ หลังจากที่ปรับลดลงมา 7 ครั้งติดต่อกัน เนื่องจากรอความชัดเจนการเจรจาการค้ากับสหรัฐ
- ECB ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จาก 4.00% เหลือ 2.15% ภายในเวลา 1 ปี เงินเฟ้อปัจจุบัน 2.00% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย สหรัฐ อยู่ที่ 4.50% ซึ่งสร้างความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
H4/H1 โครงสร้าง H4 สิ้นสุดโครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น ทั้งนี้หากราคาสามารถปิดต่ำกว่าระดับ 64.394 (ยืนยันโครงสร้างเทรนด์ขาลง) ในขณะที่ Price Pattern Quasimodo ยังคงปรากฎอยู่ ทั้งนี้ราคาสามารถทรงตัวเหนือระดับดังกล่าว เคลื่อนที่ออกข้าง จากปัจจัยข่าวและตัวเลขปริมาณสต็อกน้ำมันดิบ ที่เป็นอาสงค์ผลบวกต่อราคาน้ำมัน ทั้งนี้ TF H1 ราคามีการเบรคขึ้นจาก Channel Downtrend
คำแนะนำ
- เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ) บริเวณกรอบ 65.027-65.272 / SL 64.860 เพื่อทำกำไร 65.311/65.340/65.390/65.460/65.573
- เปิดสถานะขาย(รอสัญญาณขาย) บริเวณกรอบ 66.006-66.312 /SL 66.860 เพื่อทำกำไร 65.868/65.791/65.728/65.666/65.525/65.465
นวรับ 65.058/64.788/64.471
แนวต้าน 66.341/66.841/67.455

ปฎฺิทินเศรษฐกิจ 24 ก.ค.2568

บทวิเคราะห์ข่าว
- EU ประกาศคงดอกเบี้ยที่ 2.15% ในขณะที่ USD ดอกเบี้ย 4.50% คาดว่าเงินจะไหลเข้า พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ(ซึ่งให้ผลตอบแทนมากกว่า) ส่งผลให้ USD (DXY) แข็งค่าขึ้น อาจกดดันราคาน้ำมันลงได้
- ติดตาม ตัวเลข PMI ภาค บริการและภาคการผลิต ซึ่งส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันโดยตรง หาก ตัวเลขออกมา มากกว่า 50 และ มากกว่าเดือนที่แล้ว จะส่งผลบวกต่อ USD และราคาน้ำมัน แต่หาก ตัวเลขออกมา น้อยกว่าเดือนที่แล้วถึงระดับต่ำกว่า 50 จะสะท้อนภาคเศรษฐกิจในภาวะหดตัว ราคาน้ำมันและ USD จะปรับตัวร่วงลงได้ แต่หากราคาใกล้เคียงเดือนที่แล้วก็จะไม่ค่อยมีปัจจัยกับราคา
- ติดตาม การประกาศการเจรจาการค้า ระหว่างสหรัฐ กับนานาชาติ (นอกตาราง) ซึ่งหากประกาศความสำเร็จในการเจรจาจะส่งผลบวกต่อ USD และราคาน้ำมัน
โดย Trin Anuwattanawong