กลยุทธ์การลงทุน Crude Oil (WTI) ประจำวันที่ 6 พ.ค.2568
6 พ.ค. 2025
Day โครงสร้างเทรนด์ขาลง วานนี้ ราคาดีดตัวขึ้น หลังจากเปิดตลาด มี Sell the news เปิด gap ลงไปสร้าง Low 54.994 บริเวณกรอบ Demand H4 ปรากฎสัญญาณกลับตัว Bearish Divergence Day จึงได้เห็นการซื้อทำทางเทคนิคสวนมาในช่วงเช้าวันนี้ (ตามคาด)
สัญญา West Texas Intermediate (WTI) งวดส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดที่ $57.13 ต่อบาร์เรล ลดลงที่ 2% ราคาปรับตัวต่ำสุดในรอบ 4 ปี
OPEC+ ตัดสินใจเร่งการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน … กดดันราคาน้ำมัน
- OPEC8+ ตัดสินใจเพิ่มการผลิตขึ้น 411,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน มิ.ย. และอาจเพิ่มอีก 411,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ค. หลังจากมี่มีปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มเรื่อง โควต้าการผลิตที่น้อยในประเทศ แอฟริกา ที่เรียกร้องการผลิตสูงขึ้นในเดือน มิ.ย. ตลอดจนทบทวนข้อตกลงลดการผลิตที่ประกาศไว้เพื่อปรับเข้าสู่แนวโน้มอุปสงค์น้ำมันโลก(ที่น้อยลง) รวมถึงความเสียงจากอุปสงค์ของจีนและยุโรป
- ธนาคารระดับใหญ่ของโลก Goldmans Sac ระบุ หาก OPEC+ ยกเลิกการลดกำลังการผลิตทั้งหมด(กลับมาผลิตมากขึ้น) 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันอย่างค่อยเป็นค่อยไป ราคาน้ำมัน WTI อาจลดลงเหลือช่วงสูงของ $40 ภายในสิ้นปี 2026
ทรัมป์กล่าว”อาจมีการกำหนดภาษีอีกครั้งสำหรับประเทศที่ไม่บรรลุข้อตกลงการค้า”… อุปสงค์ความต้องการน้ำมันลดลง กดดันราคาน้ำมัน
- 5 พ.ค. ทรัมป์ กล่าว “ไม่มีแผนที่คุยโดยตรง กับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน” แต่จะปล่อยให้ เจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่จีนและสหรัฐฯ อีกทั้งยังคาด “ข้อตกลงบางส่วนน่าจะบรรลุผลและจะประกาศในสัปดาห์นี้” แต่ ยังมีอีกหลายประเทศที่ “ไม่บรรลุข้อตกลง” ซึ่งอาจจะต้อเงรียก”กำหนดภาษี”สำหรับประเทศเหล่านี้ก่อน ครบ 90 วัน
– สหรัฐ – จีน, ยังไม่คืบหน้าในการเจรจาที่ชัดเจน
– สหรัฐ – EU, ยังไม่มีความคืบหน้าในการเจรจา : ทรัมป์ขู่เพิ่มภาษีในอุตสาหกรรมยานยนต์ & EU เตรียมขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐ 25% หากไม่คืบหน้าการเจรจา
– สหรัฐ – บราซิล , ไม่มีการเจรจา บราซิลยืนฟ้องต่อ WTO (การค้าโลก) & สหรัฐกำหนดภาษี 10% จากสินค้าในบราซิล โดยเฉพาะอะลูมิเนียมและเหล็ก
– สหรัฐ- โคลอมเบีย ,เจรจาแล้วแต่ไม่บรรลุผล สหรัฐกำหนดภาษี 25% และอาจเพิมเป็น 50% (อ้างข้อพิพาทการส่งกลับผู้ลี้ภัย) & โคลอมเบียเตรียมตอบโต้กลับด้วยภาษีที่เท่ากัน
– สหรัฐ – แอฟริกา : ยังไม่มีการเจรจา สหรัฐเตรียมกำหนดภาษีใหม่ต่อเหล็กและอะลูมิเนียม & แอฟริกามองหาตลาดส่งออกใหม่ในเอเซียและยุโรป - การเจรจาการค้า ญี่ปุน-สหรัฐ ยังคงไม่บรรลุข้อตกลง สหรัฐยืนกรานที่จะรักษาภาษีนำเข้าสูงถึง 25% สำหรับรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จากญี่ปุ่น รวมถึงภาษี 24% สำหรับสินค้าอื่น ๆ เช่น เหล็กและอลูมิเนียม แม้ว่าญี่ปุ่นเสนอแนวทางจะเพิ่มการนำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น และ ทบทวนอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี Non Tariff Barriers ตามที่สหรัฐเคยให้ไว้ แต่ยังไม่มีทีท่าได้ข้อสรุป ขณะที่ญีุ่่ปุ่นยังคงถือไพ่การเจรจาที่เหนือกว่าจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (ที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ถือครองรายใหญ่ที่สุดในโลก มูลค่า $1.13 ล้านล้าน) ซึ่งหากญี่ปุ่นเทขายพันธบัตรสหรัฐจริง จะส่งผลให้ค่าเงิน USD ร่วงลงอย่างหนัก ,อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรจะพุ่งสูงขึ้น สหรัฐจำเป็นต้องหาเงินมหาศาลเพื่อจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ขายพันธบัตรครั้งหน้า (เพิ่มหนี้เสีย)
- ทรัมป์ ประกาศจะเก็บภาษีศุลกากรในอัตรา 100% สำหรับภาพยนตร์ที่ผลิตนอกประเทศ โดยให้เหตุผลว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกันกำลัง “ตายอย่างรวดเร็ว” เนื่องจากแรงจูงใจที่ประเทศอื่นมอบให้เพื่อดึงดูดผู้สร้างภาพยนตร์
ตลาดยังคงรอการเจรจากทางการค้า สหรัฐ – จีน… หากมีการเจรจา จะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมัน
- ขณะที่สหรัฐยอมรับยังไม่มีแผนการเจรจากับ สี จิ้นผิง ในขณะที่จีนเอง ยังคง”ประเมิน” ข้อเสนอจากสหรัฐฯ ในการเริ่มต้นการเจรจาการค้า โดยกระทรวงพาณิชย์ของจีนเน้นย้ำว่าการเจรจาใด ๆ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจ และเตือนสหรัฐฯ ว่าไม่ควรใช้วิธีการบีบบังคับ ในขณะที่จีนเองก็ลดความตึงเครียดทางการค้าด้วยการเริมยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการจากสหรัฐ
- ในขณะที่ สิ จิ้น ผิง มีแผนเดินทางไปรัสเซีย 7-10 พ.ค. เพื่อเช้าร่วมในวัน Victory Day อีกทัง้ยังมีความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคี
ประกาศตัวเลข PMI – Service ดีเกินคาด … ปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมัน
- ประกาศตัวเลข PMI ภาคบริการวานนี้ ออกมาที่ 51.6 (เดือนทีแล้ว 50.8) สะท้อนภาคเศรษฐกิจสหรัฐยังคงขยายตัว อีกนัยยะหนึ่งคือ ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ซึง่ส่งผลมาจากมาตราการรัฐบาลภาษีของทรัมป์ ซึ่งอาจจะสร้างแรงกดดันให้เกิดเงินเฟ้อ
การเจรจา นิวเคลียร์ สหรัฐ-อิหร่าน ครั้งที่ 4 ล่ม … มาตราการคว่ำบาตรอิหร่านปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมัน
- การเจรจารอบที่ 4 ระหว่างสหรัฐ- อิหร่าน ซึ่งเดิมมีกำหนดจัดขึ้นที่อิตาลี ถูกอิหร่านเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากไม่พอใจที่สหรัฐฯที่ประกาศคว่ำบาตรเพิ่มเติมต่ออิหร่าน รวมถึงการข่มขู่ตอบโต้ทางทหารหากอิหร่านยังคงสนับสนุนกลุ่มฮูตีในเยเมน แต่อิหร่านยังคงเปิดช่องให้มีการเจรจาโดยอ้อมผ่านตัวกลางโดย สรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ทรัมป์ยืนยันต้องการให้อิหร่าน “รื้อถอน” โครงการนิวเคลียร์ท้งหมดรวมทั้งยุติการเสริมสมรรถนะยุเีรเนียม และขีปนาวุธระยะไกล และหยุดสนับสนุนกลุ่ม ฮูติในเยเมน อีกทั้งยังเรียกร้องให้มีการตรวจสอบจากสหรัฐในสถานที่ที่มีนิวเคบียร์อยู่ซึ่งรวมถึงฐานทัพด้วย พร้อมเพิ่มมาตราการคว่ำบาตรน้ำมันอิหร่าน
- อิหร่านปฎิทุกข้อกล่าวหาและข้อเรียกร้องของสหรํฐไม่ยอมการละเมิดอธิปไตยของสหรัฐ เพิ่มการทดสอบขีปนาวุธและสนับสนุนกลุ่มฮูติ โจมตี สนามบินเบนกูเรียนของอิสราเอล แต่ยังเปิดช่องสำหรับการเจรจานิวเคลียร์ โดยขอเจรจาใหม่กับประเทศยุโรป (ที่เคยเป็นภาคีข้อตกลงนิวเคลียร์ ปี 2015 JCPOA) แทน
*** ปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมัน จากความไม่สงบในตะวันออกกลาง (ปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมัน)
- อิสราเอล – ฮามาส : เบนจามิน เนทันยาฮู (อิสลาเอล) อนุมัติแผนทหารใหม่ “ยึดครองกาซ่าทั้งหมด อย่างไม่มีกำหนด” ย้ายประชากรปาเลสไตน์ จากเหนือลงใต้ และจำกัดการช่วยเหลือมนุษยธรรม ในขณะที่กลุ่มฮามาสประกาศยุติการเจรจา “พร้อมสู้ยิบตา”
- ฮูติ- อิสลาเอล- สหรัฐ : อิสราเอล+สหรัฐ ผนวกกำลังโจมตี ฮูติในเมือง ฮอดัยดะห์และโรงงานปูนซิเมนต์ในบาจิล ด้วยเครืองบินรบ 20 ลำ และทิ้งระเบิดกว่า 50 ลูก หลังจากที่กลุ่มฮูตีในเยเมนได้ยิงขีปนาวุธที่ตกใกล้สนามบินเบนกูเรียนในเทลอาวีฟ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย และเที่ยวบินถูกระงับชั่วคราว เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
- อินเดีย – ปากีสถาน : •ปากีสถานได้ทดสอบขีปนาวุธพื้นสู่พื้น “Abdali” ซึ่งมีพิสัย 450 กิโลเมตร อินเดียตอบโต้ด้วยการสั่งห้ามนำเข้าสินค้าจากปากีสถาน และมีรายงานว่ามีการปะทะกันตามแนวชายแดน สหประชาติเตือนความสัมพันธ์”ตึงเครียด”ที่สุด ในรอบหลายปี
H4 /H1 โครงสร้างเทรนด์ขาลง ราคา Rebound ขึ้นตามเทคนิค สัญญาณ Bullish Divergence (ตามคาด) ทั้งนี้หากราคาสามารถยืนเหนือ 59.436 ขึ้นไปได้ จะถือว่าโครงสร้างขาลงโดนทำลาย เริ่มปรากฎ Hamonic Gartley Pttn ในการยกตัว และคาดสถานะการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางเป็นปัจจัยส่งบวก
แนะนำ
- เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ) ที่กรอบ 57.805-57.409 / SL 56.000 เพื่อทำกำไร 57.974/58.112/58.345/58.508/58.672/58.747/59.201
แนวรับ 57.431/56.042/54.936
แนวต้าน 59.436/62.262/63.371

โดย Trin Anuwattanawong